คอลลาเจนคืออะไร

คอลลาเจน เป็นโปรตีนโครงสร้างที่พบมากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ ทำหน้าที่เป็นส่วนสนับสนุนและส่วนช่วยพยุงเนื้อเยื่อหลายชนิด ตัวอย่างเช่น คอลลาเจนเป็นตัวเชื่อมผลึกแร่ธาตุในฟัน เป็นโครงสร้างยึดเกาะตั้งแต่เอ็นกล้ามเนื้อไปจนถึงกระจกตา สำหรับผิวแล้วคอลลาเจนเป็นโครงสร้างสำคัญช่วยพยุงไม่ให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น โดยทั่วไปเส้นใยคอลลาเจนมีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น สามารถแบ่งชนิดของคอลลาเจนได้ 26 ชนิดตามโครงสร้างและตำแหน่งที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งโครงสร้างที่แตกต่างกันของคอลลาเจนส่งผลต่อหน้าที่การทำงานที่หลากหลาย โดยพบว่ามีโครงสร้างของคอลลาเจนที่แตกต่างกันในร่างกายกว่า 26 ชนิด เมื่อดูที่โครงสร้างจะพบว่ามีลักษณะคล้ายด้ายเส้นเล็กจำนวน 3 เส้น สานกันเป็นเส้นเชือก เรียกโครงสร้างรูปแบบนี้ว่า triple-helix และเชือกแต่ละเส้นเมื่อเชื่อมต่อกันจะมีขนาดใหญ่และแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ช่วยพยุงและต้านแรงได้ดียิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่แหล่งของคอลลาเจนมาจากสัตว์เป็นหลัก เช่น จากหนังและกระดูกของหมู วัว ปลา ส่วนแหล่งที่ไม่ใช่จากสัตว์ เช่น คอลลาเจนจากสาหร่าย ในทางเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนิยมใช้คอลลาเจนจากปลา เนื่องจากมีประสิทธิภาพการทำหน้าที่สูง และด้วยเหตุผลในด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เนื่องจากคอลลาเจนจากวัวอาจมีการปนเปื้อนของโปรตีนพริออน (prion) ซึ่งก่อให้เกิดโรควัวบ้า (BSE) ในคนได้

ผิวกับคอลลาเจน

ก่อนจะกล่าวเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุความหย่อนคล้อยของผิวหนัง เราเริ่มต้นจากทำความเข้าใจกับโครงสร้างของผิวหนังกันเสียก่อน โดยผิวหนังของมนุษย์ประกอบด้วยโครงสร้างที่แบ่งได้เป็น 3 ชั้นหลัก ๆ ได้แก่

1. ผิวหนังชั้นนอกสุดเรียกว่า ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) เป็นชั้นที่ช่วยป้องกันการถูกรุกรานของผิวหนังชั้นในจากทั้งสิ่งแวดล้อมและเชื้อโรค รวมทั้งทำหน้าที่ควบคุมปริมาณการระเหยของเหงื่อออกจากร่างกาย

2. ผิวหนังชั้นลึกที่สุด เรียกว่า ชั้นไขมัน (hypodermis) เป็นชั้นที่อยู่ของหลอดเลือด น้ำเหลือง และปลายประสาท ประกอบด้วยเซลล์ไขมันเป็นหลัก มีส่วนของเนื้อเยื่อยืดหยุ่นและคอลลาเจนอยู่บ้าง หน้าที่หลักของผิวชั้นนี้คือช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และเป็นส่วนรองกระแทกระหว่างผิวหนังกับโครงสร้างส่วนใต้ผิวหนัง

3. ชั้นที่อยู่ตรงกลางระหว่างสองชั้นข้างต้นเรียกว่า ชั้นหนังแท้ (dermis) เป็นชั้นที่มีความหนามากที่สุดเมื่อเทียบกับอีกสองชั้น ชั้นหนังแท้ประกอบไปด้วยส่วนของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความสามารถในการเคลื่อนไหวอย่างยืดหยุ่นของผิวหนัง และที่สำคัญ ชั้นหนังแท้เป็นชั้นที่อยู่ของคอลลาเจนยึดเกาะอยู่ระหว่างผิวชั้นนอกกับผิวชั้นไขมันเรียงตัวในแนวตั้ง ซึ่งเมื่อเทียบปริมาณน้ำหนักของชั้นหนังแท้ทั้งหมดจะพบว่ามีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบอยู่กว่า 70% คอลลาเจนมีคุณสมบัติยืดหยุ่นยืดหยุ่นซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการต้านแรงที่เข้ามากระทบกับผิวหนังเพื่อไม่ให้ผิวหนังเกิดการเสียรูป

เห็นได้ว่าคอลลาเจน ถือเป็นโครงสร้างสำคัญในผิวชั้นหนังแท้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในเรื่องของความยืดหยุ่น การเคลื่อนไหว และช่วยป้องกันการเสียรูปของผิวหนัง ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเกิดริ้วรอย

คอลลาเจนเกี่ยวข้องอย่างไรกับรอยเหี่ยวย่น และความหย่อนคล้อยของผิวหนัง

ความเสื่อมของผิวหนังเกิดได้จากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกที่ทำร้ายผิวหนัง เช่น การสัมผัสกับรังสียูวีในแสงแดด เป็นปัจจัยหลักที่สร้างความเสียหายทั้งต่อดีเอ็นเอของเซลล์ผิวหนังและยังส่งผลต่อกรดอะมิโนรวมถึงโครงสร้างของโปรตีนในผิวหนังโดยตรง  การสัมผัสกับอนุมูลอิสระซึ่งส่งผลเสียต่อส่วนประกอบและกระบวนการภายในเซลล์ผิว

ปัจจัยภายในร่างกายหลักที่ก่อให้เกิดความเสื่อมของผิวหนัง คืออายุที่เพิ่มมากขึ้น เป็นปัจจัยทางธรรมชาติที่ทุกคนต้องพบเจอ เมื่ออายุยังน้อยส่วนประกอบในผิวหนังรวมทั้งคอลลาเจนยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ เมื่อผิวหนังได้รับแรงก็ยังสามารถกลับคืนรูปเป็นแบบเดิมได้ แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ชั้นไขมันในผิวจะผลิตน้ำมันสู่ผิวชั้นนอกได้ลดลง ส่งผลให้คุณสมบัติในการกักเก็บความชุ่มชื้นของผิวจะน้อยลงไปด้วย ผิวจึงแห้งและแตกได้ง่ายกว่าคนอายุน้อย นอกจากนี้การสร้างคอลลาเจนในผิวจะลดลงเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น อย่างที่กล่าวไว้ว่าคอลลาเจนเป็นโครงสร้างสำคัญในการพยุงชั้นผิว ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และช่วยลดแรงที่ผิวหนังได้รับ การศึกษาพบว่าในผู้ที่มีอายุประมาณ 80 ปี มีเซลล์ต้นกำเนิดในการสร้างคอลลาเจนที่ชื่อว่า โปรคอลลาเจน ชนิดที่ 1 (procollagen type 1) น้อยกว่าผู้ที่มีอายุประมาณ 25 ปีถึง 68% ร่วมกันกับโครงสร้างของคอลลาเจนที่ผลิตได้เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโครงสร้างที่อ่อนแอกว่า คุณสมบัติในการยึดเกาะกับเซลล์และเนื้อเยื่อที่แย่กว่าด้วยเช่นกัน ความถดถอยของคอลลาเจนทั้งจำนวนและการทำงานนี้เองส่งผลให้แนวโน้มการเกิดริ้วรอยเพิ่มมากขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งริ้วรอยที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือริ้วรอยบนใบหน้า เนื่องจากเป็นส่วนของผิวหนังที่มีการขยับเคลื่อนไหวตามอารมณ์และการแสดงออกบนสีหน้าอยู่แทบตลอดเวลา การเคลื่อนไหวมากนี้ส่งผลให้ผิวหนังบนใบหน้าได้รับแรงมากกว่าปกติ เมื่อได้รับแรงบ่อยครั้งตามอายุซึ่งสวนทางกับจำนวนและประสิทธิภาพการทำงานของคอลลาเจนในผิว ผิวจึงไม่สามารถคืนรูปได้ตามเดิมและเกิดเป็นริ้วรอยขึ้นบนใบหน้า

ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยเฉพาะเครื่องสำอางสำหรับลดริ้วรอยแห่งวัยจึงนิยมใช้คอลลาเจนเป็นส่วนประกอบ โดยเชื่อว่าการเติมคอลลาเจนสู่ชั้นผิวจึงช่วยทดแทนคอลลาเจนที่ผิวสูญเสียไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะคอลลาเจนที่โมเลกุลขนาดเล็ก การศึกษาพบว่าสารที่มีมวลโมเลกุลน้อยกว่า 500 ดาลตันจะสามารถเข้าแทรกซึมเข้าสู่ชั้นผิว นำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ผลลัพธ์นำไปสู่ความสามารถในการชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้

เคนูทรา คอลลาเจน 3.2 เพียว คอลลาเจนไตรเปปไทด์ ที่เป็นคอลลาเจนซึ่งเชื่อมต่อกับกรดอะมิโนไกลซีน-โปรลีน-ไฮดรอกซีโปรลีน (Glycine-Proline-Hydroxyproline หรือ GPH) มากถึง 3.2% กรดอะมิโนเหล่านี้ช่วยให้คอลลาเจนถูกดูดซึมได้ดีและไวยิ่งขึ้น มีความบริสุทธิ์ 100% และขนาดโมเลกุลที่เล็กเพียง 500 ดาลตัน ให้ เคนูทรา คอลลาเจน 3.2 เพียวเป็นอีกหนึ่งคำตอบช่วยแก้ปัญหาริ้วรอยแห่งวัยของคุณ

อ้างอิง

Avila Rodríguez, M. I., Rodríguez Barroso, L. G., & Sánchez, M. L. (2018). Collagen: A review on its sources and potential cosmetic applications. Journal of cosmetic dermatology, 17(1), 20–26. https://doi.org/10.1111/jocd.12450

Varani J, Dame MK, Rittie L, et al. Decreased collagen production in chronologically aged skin: roles of age-dependent alteration in fibroblast function and defective mechanical stimulation. Am J Pathol. 2006;168(6):1861-1868. doi:10.2353/ajpath.2006.051302

Ganceviciene R, Liakou AI, Theodoridis A, Makrantonaki E, Zouboulis CC. Skin anti-aging strategies. Dermatoendocrinol. 2012;4(3):308-319. doi:10.4161/derm.22804

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *